Old_Train
รถไฟความเร็วสูง คือ รถไฟที่สามารถทำความเร็วได้มากกว่ารถไฟแบบปรกติที่เรานิยมใช้สำหรับการเดินทางระยะไกล เพราะมีราคาที่ไม่แพง โดยรถไฟนั้นมีข้อดีคือ มีเส้นทางการเดินทางทั้งประเทศ แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน เพราะด้วยความที่ราคาถูกจึงไม่ต่อยมีความสะดวกสบายมากนัก ทั้งแรงสั่นสะเทือนที่มากกว่าปรกติ จนบางครั้งถึงกับนอนไม่หลับเลยที่เดี่ยว และระบบความปลอดภัยที่กล่าวได้ว่าเป็นการดูแลตัวเองแทบทั้งสิ้นแต่อย่างไรก็ตาม ทางสถานีก็มีกฎข้อบังคับด้านความปลอดภัยให้ปฏิบัติตามกันอยู่แล้ว แต่สำหรับรถไฟฟ้าความเร็วสูงนั้นมีความแตกต่างกันมากเพราะ มีความเร็วที่มากกว่า ความปลอดภัยสูงกว่า ไม่มีแรงสั่นสะเทือน สามารถตั้งระบบอัตโนมัติได้แต่ จะมีราคาที่แพงกว่าเมื่อเทียบกับระยะทางการเดินทาง และ ไม่สามารถใช้โดยสารไปต่างจังหวัด
Electric_Train
ความสำคัญของรถไฟความเร็วสูง เนื่องด้วยสังคมเราในปัจจุบันมีการแข่งขันสูงในทุกๆ ด้าน อย่างเช่นการทำงาน ที่ต้องเดินทางไปให้ถึงจุดหมายได้ทันเวลา ดังนั้นการเดินทางจึงมีความจำเป็นต่อชีวิตคนทำงานอย่างมาก ทำให้จำนวนรถที่ในท้องถนนบ้านเรามีจำวนมากขึ้น จึงเกิดสถานการณ์รถ และยากที่จะแก้ปัญหา จึงมีแนวคิดสร้างรถไฟความเร็วสูงขึ้น เพื่อแก้ปัญหานี้ ผลคือได้ผลดีเพราะราคาก็ไม่สูงมากเมื่อเทียบการการที่เสียน้ำมันตอนจอดรถติดไฟแดง แถมยังถึงเป้าหมายด้วยเวลาลันสั้นซะด้วยเพราะ แต่ละเที่ยวนั้นเว้นระยะห่างกันไม่เกน 10 นาที และใช้เวลา ซึ่งผู้ที่ใช้บริการคุณจะรู้ว่าจริงๆ แล้วกรุงเทพไม่ได้กว้างอย่างที่คิดครับ แต่ที่เดินทางช้าเพราะรถติดต่างหาก
bts
station

รถไฟฟ้า bts เปิดให้บริการถึง 30 กว่าสถานี กับ 2 เส้นทาง คือเส้นทางแรก เริ่มจากหมอชิต สะพานควาย อารีย์ สนามเป้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พญาไท ราชเทวี สยาม ชิดลม เพลินจิต นานา อโศก พร้อมพงษ์ ทองหล่อ เอกมัย พระโขนง อ่อนนุช บางจาก ปุณณวิถี อุดมสุข บางนา แบริ่ง และ สำโรง ซึ่งสามารถเปลี่ยนเส้นทางได้ที่ สถานีสยาม ซึ่งเส้นทางนี่เชื่อมต่อกับอีก 13 สถานี คือ สนามกีฬาแห่งชาติ ราชดำริ ศาลาแดง ช่องนนทรี ศึกษาวิทยา สุรศักดิ์ สะพานตากสิน กรุงธนบุรี วงเวียนใหญ่ โพธิ์นิมิตร ตลาดพลู วุฒากาศ และ บางหว้า ครับ ค่าบริการก็ไม่แพงแถม สำหรับผู้ที่ใช้งานบ่อยสามารถทำบัตรสมาชิกได้ด้วยนะครับ

เส้นทางที่ 1
เส้นทางที่ 2
graf_bts2
mrt
mrt_map

รถไฟใต้ดิน mrt เปิดให้บริการ 2 เส้นทางเช่นกัน ซึ่งมีสถานีดังต่อไปนี้ เริ่มจาก หัวลำโพง สามย่าน สีลม ลุมพินี คลองเตย ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สุขุมวิท เพชรบุรี พระราม 9 ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ห้วยขวาง สุทธิสาร รัชดาภิเษก ลาดพร้าว พหลโยธิน สวนจตุจักร กำแพงเพชร บางซื่อ เตาปูน เส้นทางที่ 2 อีก 16 สถานี คือ คลองบางไผ่ ตลาดบางใหญ่ สามแยกบางใหญ่ บางพลู บางรักใหญ่ บางรักน้อยท่าอิฐ ไทรม้า สะพานพระนั่งเกล้า แยกนนทบุรี 1บางกระสอ ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี กระทรวงสาธารณสุข แยกติวานนท์ วงศ์สว่าง บางซ่อน เตาปูน

เส้นทางที่ 1
เส้นทางที่ 2

รถไฟสายนี้มีเพียง 1 เส้นทางและ มีเฉพาะสถานีที่ติดกับสนามบินเท่านั้น ประกอบไปด้วย ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ลาดกระบัง บ้านทับช้าง หัวหมากรามคำแหง มักกะสัน ราชปรารภ และ พญาไท     

map_airport_link

        ซึ่งในทุกวันนี้ยังมีการก่อสร้างสถาน bts ในกรุงเทพอย่างต่อเนื่อง และ ถ้าสร้างเสร็จ ก็ยังมีแผนการการสร้างออกไปยังต่างจังหวัดทั่วประเทศแต่ติดเรื่องค่าใช้จ่ายและ เส้นทางการจราจร ซึ่งการจะสร้างเส้นทางต่อไป นั้นต้องคำนึงถึงผู้ที่ใช้รถใช้ถนนทั่วไปด้วยว่าจะสามารถใช้ถนนได้อย่างสะดวกสบายหรือไม่